ด้วยพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ได้ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2562 โดยมีผลบังคับเป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2562 เป็นต้นไปซึ่งผลของกฎหมาย พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 และ พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ 2475 แต่การดำเนินการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและภาษีที่ดินยังคงปฏิบัติเช่นเดิมตลอดจนถึงสิ้นปี 2562 ทั้งนี้ อปท. จะต้องเริ่มดำเนินการตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว โดยจะเริ่มดำเนินการ สำรวจข้อมูลที่ดินแลกสร้างในเขต อปท. ทุกแปลงที่ดิน เพื่อนำมาประกาศและแจ้งให้ผู้เสียภาษีทราบโดยดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องภายใน เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2562 รวมถึงจะต้องแจ้งราคาประเมินของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ธนารัก ได้ประกาศใช้ในรอบ 4 ปีด้วย จากนั้นจึงดำเนินการแจ้งการประเมิน และรับชำระภาษีต่อไป ตามอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งกำหนดการใช้ประโยชน์ไว้เป็น 4 ประเภท คือ 1) ประเภทเกษตรกรรม กำหนดอัตราจัดเก็บจริง ร้อยละ 0.01 เพดานไม่เกินร้อยละ 0.15 2) ประเภทที่อยู่อาศัย กำหนดอัตราจัดเก็บจริง 0.02 เพดานไม่เกินร้อยละ 0.1 3) ประเภทอื่น ๆ ก าหนดอัตราจัดเก็บจริง ร้อยละ 0.03 เพดานไม่เกินร้อยละ 2. 1 4) ประเภทที่รกร้างว่างเปล่า กำหนดอัตราจัดเก็บจริง ร้อยละ 0.30 เพดานไม่เกินร้อยละ 1.2
กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกกฎหมายลำดับรอง ตามที่ พ.ร.บ.กำหนด เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการจัดเก็บภาษีของ อปท. และได้มีหนังสือซักซ้อมแนวทางเพื่อรองรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ มท 0808.3/ว0107 ลงวันที่ 8 มกราคม 2561 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเตรียมการตามแผนเพื่อเตรียมความพร้อมตั้งแต่ขั้นตอนการศึกษาทำความเข้าใจตามขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่ การสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกการประกาศทรัพย์สิน การเปิดให้มีการตรวจสอบโดยเจ้าของทรัพย์สิน การแก้ไขของ อปท. หลังจากเจ้าของทรัพย์สินแจ้งให้ตรวจสอบการประเมินภาษี การอุทธรณ์ภาษี การชำระเงินภาษี ขั้นตอนการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน รวมถึงการแจ้งให้สำรวจสิ่งปลูกสร้างที่ยังไม่มีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ และกำหนดให้มีการจัดทำแนวเขตการปกครองรองรับการส่งรูปแปลงที่ดินของสำนักงานที่ดินประจำจังหวัด รวมถึงการจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บภาษีดังกล่าวซึ่งขั้นตอน วิธีการ และแนวทางต่าง ๆ ตามที่กระมหาดไทยกำหนด เป็นหน้าที่ของเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นตามแผนเตรียมการจัดเก็บภาษี ดังนั้น จึงเป็นภารกิจอันหนักของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบที่จะต้องศึกษาขั้นตอนการดำเนินการ โดยเฉพาะการออกสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของผู้เสียภาษีที่จะต้องดำเนิน การสำรวจทุกแปลงที่ดิน จะต้องเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 แล้วนำมาประกาศให้ทันภายในเดือนตุลาคม 2562 เพื่อให้เจ้าของที่ดินตรวจสอบ แล้วจึงประเมินไปยังผู้เสียภาษีในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 และผู้เสียภาษีจะต้องชำระเงินในเดือนเมษายน 2563 เพื่อเป็นไปตามขั้นตอนต่างๆ จึงมีความจำเป็นที่จะสร้างความเข้าใจและศึกษาให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ในการนี้ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำ โครงการการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อการจัดทำ “บัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภ.ด.ส.3” และ “แบบแสดงรายการคํานวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภ.ด.ส.7” ตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ขึ้น เพื่อให้หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถสามารถดำเนินการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เวปไซต์สำหรับสมัคร |
---|
ขั้นตอนการชำระเงินค่าลงทะเบียน - ค่าลงทะเบียน ท่านละ 9,000 บาท (เก้าพันบาทถ้วน) ผู้สมัครเข้ารับการอบรมฯ จะต้องแนบหลักฐานการโอนเงินค่าลงทะเบียนมาด้วย ทั้งนี้สามารถชำระค่าลงทะเบียนได้ที่ธนาคารกรุงไทย บัญชีออมทรัพย์ มหาวิทยาลัยบูรพา เลขที่บัญชี 386-1-00442-9 สาขามหาวิทยาลัยบูรพา หลังจากจ่ายค่าลงทะเบียนแล้ว โปรดส่งหลักฐานการโอนมาที่ Email : dawut@go.buu.ac.th หรือ LineID : dawood_kalaes |
---|
หลังจากที่ผู้เข้าอบรมได้ลงทะเบียนเรียบร้อย ทางมหาวิทยาลัยบูรพา จะติดต่อกลับ เพื่อขอข้อมูลดังนี้
1. ข้อมูลแผนที่แม่บท หรือแผนที่ภาษี ในโปรแกรม Ltax GIS เรียบร้อยแล้ว
2. ข้อมูลทะเบียนที่ดิน ในโปรแกรม Ltax3000 (ที่มีการอัพเดตข้อมูลตลอด)
3. ข้อมูลสำรวจตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562
4. ราคาประเมินที่ดินที่ได้จากกรมธนารักษ์ (หนังสือเข้า อปท. จากกรมธนารักษ์ช่วงเดือนธันวาคม 2559) มีไฟล์ *.Pdf แนบมาด้วย หากไม่มี ให้นำราคาที่เป็นกระดาษพิมพ์แทนได้
5. ราคาประเมินทุนทรัพย์ประเภทสิ่งปลูกสร้างของจังหวัดพื้นที่ตั้งของ อปท.
6. แบบสำรวจภาคสนาม “แบบสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับที่ดิน” และ “แบบสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้าง” ฉบับที่ได้มีการสำรวจเรียบร้อยแล้ว จำนวนอย่างน้อย 1 เขต (Zone) หรือ 1 หมู่บ้าน
7. ข้อมูลที่ได้จากกรมที่ดิน
8. ข้อมูลที่ได้จากสำนักงานที่ดินจังหวัด (สาขาพื้นที่)
9. Notebookอย่างน้อย 1 เครื่อง
ทางมหาวิทยาลัยบูรพา จะนำข้อมูลดังกล่าวข้างต้น มาจัดดำเนินการเตรียมให้ผู้เข้ารับการอบรมใช้เพื่อการจัดทำข้อมูลลงในแบบ “แบบบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภ.ด.ส.3” และ “แบบบัญชีรายการอาคารชุด/ห้องชุด ภ.ด.ส.4” และ“แบบแสดงรายการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภ.ด.ส.7” แบบอัตโนมัติ (สำหรับข้อมูลที่สมบูรณ์) สำหรับข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ ทาง อบต./เทศบาลฯ ก็สามารถนำไปปรับปรุงให้สมบูรณ์ต่อไปได้
ที่อยู่ : คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เลขที่ 169 ถนนลงหาดบางแสน ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20131
โทรศัพท์ : 038 - 102328
โทรสาร : 038 - 102379