ภาควิชาภูมิสารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Department of Geo-Informatics Faculty of Humanities and Social Sciences Burapha University.

ประกาศรายชื่อนิสิตผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์ นิสิตช่วยงาน Past Time คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีงบประมาณ 2563

ประกาศรายชื่อนิสิตผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์
นิสิตช่วยงาน Past Time คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา ปีงบประมาณ 2563
…………………………
ตามที่คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ ได้เปิดรับสมัครนิสิตเพื่อช่วยงาน Past Time ในระหว่าง
วันที่ 17-25 กันยายน พ.ศ. 2562 บัดนี้ครบตามกำหนดเวลาแล้ว ได้ตรวจสอบผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน และมีสิทธิ์เข้าสัมภาษณ์ และให้ผู้มีรายชื่อมารายงานตัว ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม รศ.จำเนียรฯ ชั้น 5 อาคาร60 พรรษามหาราชินี2 คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ ตามลำดับรายชื่อ ดังนี้
351469

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิชิตพร ผลเกิดดี ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง “ผู้ช่วยศาสตราจารย์” สาขาวิชาภูมิศาสตร์ อนุสาขาวิชาเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์ คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์

คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์
ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิชิตพร ผลเกิดดี
ในโอกาสที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง “ผู้ช่วยศาสตราจารย์”
สาขาวิชาภูมิศาสตร์ อนุสาขาวิชาเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์ คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์
– ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยบูรพา ครั้งที่ 2 ประจำปี 2565 –
เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จะเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2565

รับสมัครรอบสุดท้ายแล้ว สำหรับปีการศึกษา 2565
ตอนนี้ คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2565 สำหรับ TCAS รอบที่ 5 รอบรับตรงอิสระ ภาคพิเศษจำนวน 50 ที่นั่ง โดยเกณฑ์การรับสมัครตามนี้
-ใช้คะแนน GAT
-GPAX 2.00
-เรียนวิชาคณิตศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต
รับสมัครตั้งแต่วันที่ 20 -22 มิถุนายน 2565 นี้
คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์จะพาน้องๆรุ่นใหม่ฉีกกฎการเรียนรู้นอกห้องเรียนมาร่วมเปิดประสบการณ์การสำรวจแบบใหม่
พร้อมโอกาสสร้างเสริมรายได้กับงานวิจัยตั้งแต่ระหว่างเรียน
ทำความรู้จักคณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ให้มากกว่านี้ได้ที่ http://geo.buu.ac.th/tcas

สามารถ Download ระเบียบการรับสมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี TCAS รอบ 5 และบันทึกข้อมูลการสมัครออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ http://regservice.buu.ac.th
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายวิชาการ คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์
☎️ 038-102 363 ต่อ 102 และ 090 998 2741
#Dek65
#GISBUU
#TCAS65

ค่ายภูมิศาสตร์โอลิมปิกภาคตะวันออก 2564

สิ้นสุดแล้วครับสำหรับค่ายภูมิศาสตร์โอลิมปิกภาคตะวันออก1&2 โดยจะคัดเลือกตัวแทนระดับภาคตะวันออกที่มีคะแนนสูงสุดจำนวน 6 คน มาติดตามชมกันต่อไปนะครับ ว่าน้องๆ 6 คนจะมีใครบ้าง ที่จะได้ไปแข่งขันต่อในระดับประเทศ ซึ่งในปีนี้จะจัดแข่ง ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์เปิดรับสมัครนิสิตใหม่รอบโควต้าภาคตะวันออก 12 จังหวัด ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 23 มีนาคม 2562Faculty of Geoinformatics Burapa university Accepting applications for new students around the Eastern Region 12 quota from 4 February to 23 March 2019

คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดรับสมัครนิสิตใหม่รอบโควต้าภาคตะวันออก 12 จังหวัด ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 23 มีนาคม 2562

TCAS 62

 

Faculty of Geoinformatics Burapa university Accepting applications for new students around the Eastern Region 12 quota from 4 February to 23 March 2019

TCAS 62

DRONE iDEAS รุ่นที่ 3

เชิญชวนนิสิตนักศึกษา อาจารย์และนักวิจัยเข้าร่วมอบรม “นวัตกรรมสำหรับอาชีพแห่งอนาคต DRONE iDEAS รุ่นที่ 3” ณ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 9.00 – 16.00 สามารเข้าร่วมอบรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ E-mail : vijai.nu@gmail.com โทรศัพท์ 087-7396009
S__65241099

คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมมือกับเมืองพัทยา ลงนามบันทึกความเข้าใจในพิธีการลงนามความร่วมมือ (MOU) ในการพัฒนาศูนย์ข้อมูลภูมิสารสนเทศขนาดใหญ่ (Big Geospatial Data Center) และร่างแผนแม่บทเมืองพัทยาดิจิตอล (Digital Transformation)Faculty of Geoinformatics , Burapha University Cooperate with Pattaya Signed a memorandum of understanding in the MOU signing ceremony for the development of the Big Geospatial Data Center and the draft of the Digital Transformation Master Plan.

คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมมือกับเมืองพัทยา ลงนามบันทึกความเข้าใจในพิธีการลงนามความร่วมมือ (MOU) วันพุธที่ 10 เมษายน 2562 ณ ศาลาว่าการเมืองพัทยา ในการพัฒนาศูนย์ข้อมูลภูมิสารสนเทศขนาดใหญ่ (Big Geospatial Data Center) และร่างแผนแม่บทเมืองพัทยาดิจิตอล (Digital Transformation) เพื่อร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการความรู้ เทคโนโลยีเชิงพื้นที่ และประสบการณ์การบริหารงานด้วยศักยภาพของทรัพยากรที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ เพื่อเร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นีโอพัทยา (NEO Pattaya) สู่การเป็นเมืองพัทยาสมาร์ทซิตี้ (Pattaya Smart City)

โดยขอบเขตหน้าที่ความร่วมมือใน MOU จะประกอบไปด้วย
1. หน่วยงานทั้งสองจะร่วมเสนอแนวทาง ให้คำปรึกษา ตลอดการดำเนินงานในกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาศูนย์ข้อมูลภูมิสารสนเทศขนาดใหญ่ (Big Geospatial Data Center) และการพัฒนาแผนแม่บทเมืองพัทยาสู่ยุคดิจิตอล 4.0 (Digital Transformation) เพื่อเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการเมืองพัทยา ในด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านทรัพยากร-สิ่งแวดล้อม ด้านวัฒนธรรม ด้านการบริหาร และสนับสนุนเมืองพัทยาให้เป็นศูนย์กลางของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเมืองในรูปแบบข้อมูลภูมิสารสนเทศ (City Spatial Information) ในการพัฒนาเมืองด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

2. หน่วยงานทั้งสองให้ความร่วมมือในการสร้างและพัฒนาบุคลากรคุณภาพ (Building Capacity) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวิชาการและการฝึกอบรมทักษะ โดยประยุกต์วิทยาการภูมิสารสนเทศเพื่อบริหารจัดการเมือง การพัฒนาเมือง และการให้บริการประชาชน รวมทั้งสนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์ และอื่นๆตามเหมาะสม

3. จัดผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวกในด้านความรู้อื่นๆที่จำเป็นต่อการพัฒนา และร่วมประชุม วางแผน จัดระบบ ระเบียบ และจัดกิจกรรม อื่นๆตามที่ทั้งสองฝ่ายจะให้ความช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกันเพื่อพัฒนาศูนย์ข้อมูลภูมิสารสนเทศขนาดใหญ่ (Big Geospatial Data Center) และรวมไปถึงการพัฒนาแผนแม่บทเมืองพัทยาสู่ยุคดิจิตอล 4.0 (Digital Transformation) ให้สัมฤทธิผลตลอดจนติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลง เพื่อผลักดันให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

 

56517019_2595791867160793_7577297572662870016_o 56524156_2595792207160759_7334055192230363136_o 56635109_2595792763827370_7991827522352316416_o 56691366_2595792183827428_159373372927508480_o 56917762_2595792727160707_5137733436747808768_o 56956495_2595792357160744_5693120846114062336_o 57052317_2595791543827492_3167961890345189376_o 57166057_2595792473827399_1320092549574033408_o

Faculty of Geinformatics, Burapha University Cooperate with Pattaya Signed Memorandum of Understanding (MOU) signing ceremony on Wednesday, 10 April 2019 at Pattaya City Hall In the development of the Big Geospatial Data Center and the draft of the Digital Transformation Master Plan to jointly promote and support knowledge management Spatial technology And management experience with the potential of resources that each department has To speed up the Neo Pattaya strategy to become Pattaya Smart City
The scope of cooperation in the MOU will include
1. Both agencies will propose guidelines for counseling throughout the activity. Related to the development of the Big Geospatial Data Center and the development of the Pattaya City Master Plan to the Digital 4.0 (Digital Transformation) to enhance the management of Pattaya City In economic, social, resource-environment, cultural aspects, administration And support Pattaya to be the center of the Eastern Region Special Development Zone (EEC) by utilizing city information in the form of geographic information (City Spatial Information) for effective urban development
2. Both agencies cooperate in the building and development of quality personnel (Building Capacity) in order to encourage the exchange of academic knowledge and skills training. By applying geo-informatics to manage the city City development And public service Including supporting tools, equipment and others as appropriate
3. Arrange coordinators and facilitate other knowledge needed for development. And attend meetings, plan, organize, organize and organize activities Others, as both sides will help each other to support the development of the Big Geospatial Data Center and include the development of the Pattaya Master Plan to the digital 4.0 era. Until monitoring the performance according to the memorandum To push for real benefits

 

56517019_2595791867160793_7577297572662870016_o 56524156_2595792207160759_7334055192230363136_o 56635109_2595792763827370_7991827522352316416_o 56691366_2595792183827428_159373372927508480_o 56917762_2595792727160707_5137733436747808768_o 56956495_2595792357160744_5693120846114062336_o 57052317_2595791543827492_3167961890345189376_o 57166057_2595792473827399_1320092549574033408_o

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม เปิดรับข้อเสนอโครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน ประจำปี 2562 (City & Community Innovation Challenge 2019)

สนช. ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม เปิดรับข้อเสนอโครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน ประจำปี 2562 (City & Community Innovation Challenge 2019) ที่สามารถผลักดันไปสู่การใช้งานจริง เพื่อแก้ไขปัญหาในประเด็นท้าทายที่เกิดขึ้นในสังคมเมืองและชุมชน โดยมีแนวคิดมาจากการร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างหน่วยงานด้านการปกครอง องค์กรเอกชน องค์กรภาคสังคม และภาคประชาชน ซึ่งเป็นแนวคิดในการทำงานร่วมกันหรือเรียกว่า “การร่วมรังสรรค์” (Co-creation) ที่สามารถแก้ไขปัญหา ส่งเสริมและสนันสนุนในพื้นที่จริง ซึ่งองค์กรที่ได้รับคัดเลือกจะได้รับเงินสนับสนุนเพื่อนำไปดำเนินการจริงในพื้นที่ เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึง 30 เมษายน 2562 โดยมีหัวข้อเปิดรับ ดังนี้

1. นวัตกรรมการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติ (Innovation for Disaster Risk Management)
2. นวัตกรรมบริการสาธารณะ (Public Service Innovation)
3. การยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มเปราะบาง (Enhancing Livelihoods of Vulnerable Groups)

คุณสมบัติของผู้เสนอโครงการ
1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีการทำงานร่วมกับภาคเอกชนหรือภาคมหาวิทยาลัย เพื่อขับเคลื่อนพันธกิจขององค์กรปกครองนั้นด้วยนวัตกรรม

2. องค์กรเอกชน หรือ มหาวิทยาลัย ที่มีส่วนร่วมกับเมืองหรือชุมชน มีการทำงานร่วมกับคนในพื้นที่เพื่อสร้างรายได้ หรือประโยชน์ให้กับพลเมือง โดยใช้นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน

3. มูลนิธิ สมาคม วิสาหกิจชุมชน หรือสหกรณ์ ที่ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมในระดับพื้นที่ และส่งผลกระทบอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

 

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมกด—>http://www.nia.or.th/nia/th/

 

timeline_20190202_190814

โครงการออกพื้นที่ภาคสนามในเขตพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC)

นิสิตบัณฑิตศึกษา หลักสูตร SCGI Master Program  คณะภูมิสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการออกพื้นที่ภาคสนามในเขตพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ประกอบการเรียนการสอนรายวิชาการวิเคราะห์ภาพดิจิทัล (Digital Image Analysis) และระบบการบริหารจัดการสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร (Resource and Environment Management Information System) ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๒ ณ จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรีและระยอง

  • สำรวจภาคสนามโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV) สำรวจพื้นที่ในบริเวณต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำในเขตพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก คือ ลุ่มน้ำบางปะกง ลุ่มน้ำคลองท่าลาด ลุ่มน้ำคลองหลวง ลุ่มน้ำประแสร์ ลุ่มน้ำพังราด ลุ่มน้ำคลองใหญ่และลุ่มน้ำภาคตะวันออก เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อคุณภาพน้ำ ซึ่งอยู่ในโครงการวิจัยการพัฒนาแบบจำลองเพื่อคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำในระบบลุ่มน้ำเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก ร่วมกับศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภาคตะวันออก (Eastern Region Center for Space Technology and Geo-Informatics: ESG)
  • สำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่เขตพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก โดยเก็บข้อมูลในพื้นที่ตัวอย่าง ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด EEC เพื่อบันทึกข้อมูลการสำรวจพื้นที่ และนำข้มูลไปตรวจสอบความถูกต้องและวิเคราะห์กับภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศอื่นๆ

GI NEW2018-33-4

 

[ecs-list-events]

โครงการออกพื้นที่ภาคสนามที่เกาะสีชัง โดยนิสิตหลักสูตร SCGI

นิสิตบัณฑิตศึกษา หลักสูตร SCGI Master Program  คณะภูมิสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมกับเทศบาลตำบลเกาะสีชัง จัดโครงการออกพื้นที่ภาคสนาม ประกอบการเรียนการสอนรายวิชาการวิเคราะห์ภาพดิจิทัล (Digital Image Analysis) และระบบการบริหารจัดการสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร (Resource and Environment Management Information System) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๒ ณ ตำบลท่าเทววงษ์ อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี

  • จัดทำฐานข้อมูล Geospatial Data บนเกาะสีชังโดยใช้จุดข้อมูลสำคัญ (Point of Interest: POI) เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการบริหารจัดการพื้นที่ เช่น ด้านการท่องเที่ยว ด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
  • ทำการสำรวจพื้นที่และจัดทำ Mapping บนเกาะสีชังโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV)
  • สำรวจความลึกพื้นท้องทะเล รอบเกาะสีชัง โดยใช้ Underwater Drone

GI NEW2018-33-3

th