ภาควิชาภูมิสารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Department of Geo-Informatics Faculty of Humanities and Social Sciences Burapha University.

โครงการบูรณาการทางวิชาการเพื่อการจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลอย่างยั่งยืนบริเวณชายหาดหยงหลิงและเกาะมุก อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมAn Integrated Technical Program for Sustainable Coastal Resource Management at Yong Ling Beach and Koh Mook. Hat Chao Mai National Park

                   โครงการบูรณาการทางวิชาการเพื่อการจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลอย่างยั่งยืนบริเวณชายหาดหยงหลำและเกาะมุก อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม  นำโดย ดร.กฤษนัยน์ เจริญจิตร อาจารย์ประจำคณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (บางแสน)และคณะ ทำการการสำรวจพะยูนโดยประยุกต์หุ่นยนต์อากาศยานขนาดเล็ก (Drone) โดยมีนายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ นักวิชาการประมงชำนาญการหัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) พร้อมเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยฯ และนักบินชาวต่างชาติ ร่วมบินสำรวจสถานการณ์พะยูนรอบเกาะลิบง เกาะมุก ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยสำคัญที่สุดในทะเลตรัง เพื่อติดตามประชากรพะยูนในแต่ละปี  รวมทั้งความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารและหญ้าทะเล เนื่องจากพะยูนเป็นสัตว์ทะเลหายากใกล้สูญพันธุ์  จึงต้องวางแผนคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลให้เกิดความยั่งยืน และการบินสำรวจครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน อาทิ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช. ) นำหุ่นยนต์สำรวจทางอากาศ (โดรน) เพื่อถ่ายภาพเก็บข้อมูลทางวิชาการ
                  ด้านอาจารย์กฤษนัยน์ เจริญจิตร อาจารย์ประจำคณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (บางแสน) กล่าวว่า การทำงานครั้งนี้เป็นไปตามโครงการ “การสำรวจพะยูน โดยประยุกต์หุ่นยนต์อากาศยานขนาดเล็ก (Drone)” โดยเครื่องบินเล็กของ ทช. จะบินนำร่องปูพรมหาพะยูนในทะเลซึ่งเป็นแหล่งอาศัยหากินที่ระดับความสูงประมาณ 100 เมตร เมื่อพบพะยูนบริเวณใดจะส่งข้อมูลพิกัดแหล่งที่พบ จากนั้นก็จะส่งโดรนเข้าไปถ่ายเก็บภาพ เพื่อเก็บข้อมูลสำรวจระยะไกล และเป็นการพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลด้วยเครื่องมือสำรวจระยะไกลด้วย  และตั้งแต่ดำเนินการมาเครื่องบินสามารถบินสำรวจพบพะยูนกลุ่มใหญ่อาศัยรวมกันมากกว่า 30 ตัว 

                 นายก้องเกียรติ กล่าวว่า ได้บินสำรวจประชากรพะยูนต่อเนื่องกันมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ปีนี้ก็เช่นกันมีอาสาสมัครทั้งชาวอังกฤษและอเมริกันมาช่วยทำงาน โดยระยะ 3 ปีที่ผ่านมาพบประชากรพะยูนเพิ่มขึ้น เทียบกับ 4–5 ปีก่อนหน้าเป็นช่วงวิกฤติของพะยูน เพราะพบซากพะยูนเกยตื้นตายมากถึง  11 ตัว จากนั้นทุกฝ่ายจึงร่วมมือกันวางแผนอนุรักษ์อย่างเต็มที่ ทำให้สถิติการตายของพะยูนลดลง และผลการผ่าพิสูจน์พบว่าส่วนใหญ่เป็นการตายไม่ได้เกิดจากธรรมชาติ แต่เกิดจากการกิจกรรมของมนุษย์ เช่น เครื่องมือประมงที่เป็นอันตราย

                  
ที่มาข้อมูลและภาพ ->http://www.dmcr.go.th/detailAll/13935/nws/16/  , http://www.tnamcot.com/view/58d9e2b7e3f8e421ed809125

Dugong 1490674250428 1490674292808 1490674347240 1490674140159

                   An Integrated Technical Program for Sustainable Coastal Resources Management at Yonglang Beach and Koh Mook. Hat Chao Mai National Park, led by Lecturer, Faculty of Geoinformatics , Burapa university(BUU), Dr. Krishnai Charoenchit and group. Make a dugong survey by applying a small aircraft robot (Drone) With Fisheries expert, head of rare marine fauna. Center for Marine and Coastal Resources Research and Development, Andaman Sea ,Department of Marine and Coastal Resources(DMCR) Mr. Kongkiat Kittiwattana Wong  and the staff of the research center. And foreign pilots Explore the dugongs around Koh Libong, Koh Mook which is the most important habitat in the Trang Sea. To track the dugong population each year including abundance of food sources and seagrass. Because dugongs are rare marine species are extinct. It is imperative to plan for sustainable marine resources. This survey was supported by various organizations such as Burapha University , Kasetsart University(KU) and National Science and Technology Development Agency(NSTDA) use aerial survey robot (Drone) to take photographs and collect data.
                   Dr. Krisanai Charoenchit said that this work is in accordance with the project. “Dugong survey By applying a small aircraft robot (Drone) “ The aircraft of DMCR will fly pilot to find dugong in the sea, which is a living habitat at an altitude of about 100 meters. Aircraft will send the coordinates of the sourcewhen found the dugong  . Then researcher will send Drone into the area to store remote sensing data It also developed a remote sensing data acquisition system. Since its inception, more than 30 dugongs have been surveyed.
                   Mr. Kongkiat said that the dugong population has been flying for more than 10 years. This year, as well, volunteers from both the United Kingdom and the United States came to work. Over the past three years, dugong populations have increased, compared with 4-5 years before the dugong crisis. Because of the dugong dug up to 11 deaths, then all parties to plan conservation. The death of dugong is reduced. And the results show that most of the deaths are not caused by nature. But due to human activities such as dangerous fishing gear.

 

Source of information->http://www.dmcr.go.th/detailAll/13935/nws/16/  , http://www.tnamcot.com/view/58d9e2b7e3f8e421ed809125

Dugong 1490674250428 1490674292808 1490674347240 1490674140159

th