ทีมนักวิจัย ม.บูรพา ใช้โดรนบินสำรวจ เจอพะยูนฝูงใหญ่กว่า 30 ตัว ว่ายน้ำเกาะกลุ่มในทะเลใกล้เกาะลิบง จ.ตรัง
วันที่ 20 ต.ค.60 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทีมวิจัยศึกษาพฤติกรรมของพะยูน ของคณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (บางแสน) ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ให้มหาวิทยาลัยบูรพา โดย อาจารย์ ดร.กฤษนัยน์ เจริญจิตร ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) โดยดร.ก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ นักวิชาการประมงชำนาญการหัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายาก นำเทคโนโลยี AI Drone มาช่วยสำรวจพะยูน โดยบินสำรวจศึกษาพฤติกรรมของพะยูน ทะเลตรัง บริเวณหมู่เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง
ทั้งนี้ ได้มีนายณัฐพงศ์ หรือปั่น บุญอุไร เนักศึกษาปริญญาโท คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ และนายรณกร หรืออาร์ม มาลินันท์ เป็นนักศึกษาปริญญาตรี คณะเดียวกัน นั่งเรือหางยาว พร้อมด้วย นายรุ่งโรจน์ หรือบังหมาน บิลหมูด อายุ 40 ปี กรรมการประมงพื้นบ้านจังหวัดตรังเป็นไกด์นำทางตามหาพะยูน และสำรวจพื้นที่หญ้าทะเลอาหารของพะยูน ปรากฏว่าในวันนี้ ทีมนักวิจัยโชคดีพบเห็นพะยูนฝูงใหญ่กำลังว่ายวนเล่นน้ำอยู่ประมาณ 30 ตัว ดำผุดดำว่ายขึ้นมาหายใจเหนือน้ำทะเล เป็นระยะๆ บริเวณเขตอ่าวทุ่งจีน ม.1 รอยต่อ ม.7 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง สร้างความดีใจให้กับกลุ่มนักวิจัยฯ เป็นอย่างมาก
ขณะที่ชาวประมงพื้นบ้าน เล่าว่า ปรากฏการณ์ที่จะพบเห็นพะยูนกำลังเกาะกลุ่มเล่นน้ำหาดูได้ยาก สังเกตพบว่า พะยูนตีคู่คลอเคลียคาดว่าช่วงนี้เป็นฤดูผสมพันธุ์ และท้องฟ้าเปิดจึงทำให้เห็นพะยูนได้ชัดเจน สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับนักวิจัยเป็นอย่างมาก
สำหรับจังหวัดตรังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูนฝูงใหญ่ที่สุดของไทย มีอยู่ประมาณ 150 ตัว เป็นสัตว์สงวนฯเลี้ยงลูกด้วยนมและใกล้สูญพันธุ์ อยู่ในทะเลตรังมากที่สุด เนื่องจากมีแหล่งหญ้าทะเลที่ยังคงอุดมสมบูรณ์เป็นอาหาร มีนิสัยรักสงบ ถ้ามีสิ่งที่รบกวนเข้าใกล้จะพุ่งตัวหลบหนีไป
ทั้งนี้ ได้มีนายณัฐพงศ์ หรือปั่น บุญอุไร เนักศึกษาปริญญาโท คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ และนายรณกร หรืออาร์ม มาลินันท์ เป็นนักศึกษาปริญญาตรี คณะเดียวกัน นั่งเรือหางยาว พร้อมด้วย นายรุ่งโรจน์ หรือบังหมาน บิลหมูด อายุ 40 ปี กรรมการประมงพื้นบ้านจังหวัดตรังเป็นไกด์นำทางตามหาพะยูน และสำรวจพื้นที่หญ้าทะเลอาหารของพะยูน ปรากฏว่าในวันนี้ ทีมนักวิจัยโชคดีพบเห็นพะยูนฝูงใหญ่กำลังว่ายวนเล่นน้ำอยู่ประมาณ 30 ตัว ดำผุดดำว่ายขึ้นมาหายใจเหนือน้ำทะเล เป็นระยะๆ บริเวณเขตอ่าวทุ่งจีน ม.1 รอยต่อ ม.7 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง สร้างความดีใจให้กับกลุ่มนักวิจัยฯ เป็นอย่างมาก
ขณะที่ชาวประมงพื้นบ้าน เล่าว่า ปรากฏการณ์ที่จะพบเห็นพะยูนกำลังเกาะกลุ่มเล่นน้ำหาดูได้ยาก สังเกตพบว่า พะยูนตีคู่คลอเคลียคาดว่าช่วงนี้เป็นฤดูผสมพันธุ์ และท้องฟ้าเปิดจึงทำให้เห็นพะยูนได้ชัดเจน สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับนักวิจัยเป็นอย่างมาก
สำหรับจังหวัดตรังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูนฝูงใหญ่ที่สุดของไทย มีอยู่ประมาณ 150 ตัว เป็นสัตว์สงวนฯเลี้ยงลูกด้วยนมและใกล้สูญพันธุ์ อยู่ในทะเลตรังมากที่สุด เนื่องจากมีแหล่งหญ้าทะเลที่ยังคงอุดมสมบูรณ์เป็นอาหาร มีนิสัยรักสงบ ถ้ามีสิ่งที่รบกวนเข้าใกล้จะพุ่งตัวหลบหนีไป
ขอขอบคุณที่มาข่าว: https://www.thairath.co.th/content/1103687