ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน
กฤษนัยน์ เจริญจิตร
คำสำคัญ
มันสำปะหลัง, ภูมิสารสนเทศการเกษตร, หุ่นยนต์อากาศยานขนาดเล็ก
วันที่เผยแพร่
พ.ศ.2561
บทคัดย่อ
แนวคิดการทำเกษตรแบบแม่นยำ (Precision Agriculture : PA) ในงานวิจัยที่ทดลองกับมันสำปะหลังในครั้งนี้
เป็นแนวคิดที่บูรณาการเทคโนโลยีหุ่นยนต์อากาศยานขนาดเล็ก (small Unmanned Aerial System : sUAS) และข้อมูลภูมิสารสนเทศ (Geoinformation) ในการบริหารจัดการข้อมูลน้ำในพื้นที่เกษตรในรูปแบบภูมิสารสนเทศการเกษตร (Farm Management Information System : FMIS) เนื่องจากในการปรับปรุงผลผลิตของมันสำปะหลังให้สูงขึ้นนั้น พบว่าน้ำเป็นปัจจัยควบคุมแบบมีนัยสำคัญ ภูมิสารสนเทศการเกษตรคือการผลิตข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) ในรูปแบบของแผนที่ได้ สามารถข้ามขีดจำกัดในการสำรวจพื้นที่การเกษตรแบบวิธีเดิมโดยไม่ต้องลงไปตรวจวัดในพื้นที่ (Ground Surveying)
ซึ่งเป็นข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ทำให้สามารถสำรวจพื้นที่เกษตรแบบแปลงใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ลดต้นทุนด้านต่างๆ (Low consumption) และมีค่าใช้จ่ายที่ถูกลง ในวิธีการวิจัยจะประยุกต์หุ่นยนต์อากาศยานขนาดเล็กแบบมัลติโรเตอร์ กล้องช่วงคลื่นตามองเห็น กล้องเนียอินฟราเรดและกล้องตรวจจับความร้อน โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น
3 ขั้นตอนหลักๆ ได้แก่ 1. การบินถ่ายภาพทางอากาศ 2. การตรวจวัดข้อมูลมันสำปะหลังในภาคสนาม และ 3. การพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์โดยจะคัดเลือกตัวแบบจำลองที่มีค่าความเชื่อมั่นมากที่สุดเพื่อเชื่อมข้อมูลที่ตรวจวัดได้ในภาคสนามและข้อมูลที่ได้จากการบินถ่ายภาพ (การสำรวจระยะไกล) ในการผลิตข้อมูลภูมิสารสนเทศเกษตรแบบรายละเอียดสูง ได้แก่ ข้อมูลแผนที่ภูมิประเทศแบบ 2 มิติ (Orthomosaic and Contour) และ 3 มิติ (Digital Surfcae Model) แผนที่การไหลของทิศทางน้ำ (Water Drainage) แผนที่ความชื้นของดิน (Soil-moisture) แผนที่สรีระของมันสำปะหลังบางประการ (ความสูงของต้น การปกคลุมของเรือนยอด) และแผนที่ดัชนีพืชพรรณความสมบูรณ์ (VI Health)
เป็นแนวคิดที่บูรณาการเทคโนโลยีหุ่นยนต์อากาศยานขนาดเล็ก (small Unmanned Aerial System : sUAS) และข้อมูลภูมิสารสนเทศ (Geoinformation) ในการบริหารจัดการข้อมูลน้ำในพื้นที่เกษตรในรูปแบบภูมิสารสนเทศการเกษตร (Farm Management Information System : FMIS) เนื่องจากในการปรับปรุงผลผลิตของมันสำปะหลังให้สูงขึ้นนั้น พบว่าน้ำเป็นปัจจัยควบคุมแบบมีนัยสำคัญ ภูมิสารสนเทศการเกษตรคือการผลิตข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) ในรูปแบบของแผนที่ได้ สามารถข้ามขีดจำกัดในการสำรวจพื้นที่การเกษตรแบบวิธีเดิมโดยไม่ต้องลงไปตรวจวัดในพื้นที่ (Ground Surveying)
ซึ่งเป็นข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ทำให้สามารถสำรวจพื้นที่เกษตรแบบแปลงใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ลดต้นทุนด้านต่างๆ (Low consumption) และมีค่าใช้จ่ายที่ถูกลง ในวิธีการวิจัยจะประยุกต์หุ่นยนต์อากาศยานขนาดเล็กแบบมัลติโรเตอร์ กล้องช่วงคลื่นตามองเห็น กล้องเนียอินฟราเรดและกล้องตรวจจับความร้อน โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น
3 ขั้นตอนหลักๆ ได้แก่ 1. การบินถ่ายภาพทางอากาศ 2. การตรวจวัดข้อมูลมันสำปะหลังในภาคสนาม และ 3. การพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์โดยจะคัดเลือกตัวแบบจำลองที่มีค่าความเชื่อมั่นมากที่สุดเพื่อเชื่อมข้อมูลที่ตรวจวัดได้ในภาคสนามและข้อมูลที่ได้จากการบินถ่ายภาพ (การสำรวจระยะไกล) ในการผลิตข้อมูลภูมิสารสนเทศเกษตรแบบรายละเอียดสูง ได้แก่ ข้อมูลแผนที่ภูมิประเทศแบบ 2 มิติ (Orthomosaic and Contour) และ 3 มิติ (Digital Surfcae Model) แผนที่การไหลของทิศทางน้ำ (Water Drainage) แผนที่ความชื้นของดิน (Soil-moisture) แผนที่สรีระของมันสำปะหลังบางประการ (ความสูงของต้น การปกคลุมของเรือนยอด) และแผนที่ดัชนีพืชพรรณความสมบูรณ์ (VI Health)