Faculty of Geo-Informatics Burapha University
Faculty of Geo-Informatics Burapha University.

Calendar Of Events

Home >> Event News >> Calendar Of Events

รวม FAQ คำถามที่ถามบ่อยเกี่ยวกับคณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


Q : มาเป็นเด็กภูมิฯ ม.บู เรียนยากมั้ย?
A : เรียนไม่ยากเลย เพราะเราเน้นให้นิสิตมีความเข้าใจในเนื้อหามากกว่าการท่องจำ และเรียนคาบบรรยายสลับกับคาบปฏิบัติ เพื่อให้นิสิตเกิดความชำนาญในการทำงานจริง ซึ่งถ้าน้องๆตั้งใจทั้งในห้องเรียนและปฏิบัติ ยังไงก็เรียนผ่านแน่นอน สู้ๆ

Q : เรียนที่คณะภูมิฯ เรียนเยอะมั้ย
A : ที่คณะเรามีการจัดวางแผนการเรียนไม่ให้หนักเกินไป ทำให้น้องๆ มีเวลาว่างหลังเลิกเรียน ซึ่งในจุดนี้น้องๆ สามารถนำเวลาที่ว่างนี้ไปใช้ให้เกิดทั้งประโยชน์ เช่น ทำงานพาร์ทไทม์หรือทำงานช่วยวิจัย ช่วยงานในคณะ ซึ่งจะทำให้มีทั้งรายได้และได้ทำงานจริงสร้างประสบการณ์ไปในตัว
หรือถ้าน้องๆที่ไม่อยากทำงาน จะไปพักผ่อนหย่อนใจให้หายเครียด ทำให้ชีวิตมีสมดุล Study&work&Life balanced ได้อย่างดี

Q : มาเรียนที่คณะภูมิฯ กู้ยืมกยศ. ได้มั้ย
A : ได้แน่นอนตามเกณฑ์ที่กองทุนกำหนด โดยผู้สมัครสามารถตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด ได้ที่ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
– งานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ. กรอ.)
กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถนนลงหาดบางแสน ตำบลแสนสุข
อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20131
– โทร. 0 3810 2533 , 0 3810 2222 ต่อ 1537
(ในเวลาทำการ 8.30-16.30 น.)

Q : เรียบจบจากคณะภูมิฯ ทำงานอะไรได้บ้างน้า
A1 : – -ด้านภูมิเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ได้แก่ นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Environmental Scientist), นักวิเคราะห์จัดการภัยพิบัติ (Disaster Management Analyst), นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Geospatial Data Scientist), นักวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศ (Geospatial Analyst), นักอุทกวิทยา (Hydrologist) – นักธรณีฟิสิกส์ (Geophysicist), นักประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Environmental Quality Assessor)
A2 : -ด้านปัญญาประดิษฐ์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ได้แก่ – นักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ (Space technology, นักพัฒนาข้อมูลโลกเสมือนจริง (Virtual data developer) developer), นักบินโดรน (Drone pilot) , ครูสอนบินโดรน (Drone Trainer), นักพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence developer), นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Geospatial Data Scientist), นักวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศ (Geospatial Analyst), นักธรณีฟิสิกส์ (Geophysicist), นักรังวัดพื้นที่สมัยใหม่ (Modern land surveyor)
A3 : – ด้านภูมินวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ ได้แก่ นักผังเมือง (Urban planner) , นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Geospatial Data Scientist), นักวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศ (Geospatial Analyst), นักพัฒนาแอพลิเคชั่นเพื่อบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะ (Application developers for smart city management) ,นวัตกรชุมชน (Community innovator), นักพัฒนาระบบแผนที่ภาษี (Tax map system developer)

Q : เหตุผลที่ควรเลือกมาเรียนที่ คณะภูมิฯ ม.บู
A : เพราะม.บูรพา ตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะแก่การเรียนรู้ด้านภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์เป็นอย่างมากโดยมี มีทั้งภูเขา ทะเล ป่าไม้ เมือง ที่ท่องเที่ยว อยู่ล้อมรอบ
-ที่กิน มีครบทุกแนว คาเฟ่ชิคๆ ชานม กาแฟ ส้มตำ ชาบู บุฟเฟ่ หมูกระทะ อุดมสมบูรณ์สุดๆ ใครเผลอตัวเผลอใจรับรองน้ำหนักขึ้นแน่นอน
-ที่พัก มีสถานที่พักรองรับทุกรูปแบบ ทั้งหอพัก(นอกและในมหาวิทยาลัย) คอนโด บ้านเดี่ยว ทาว์เฮ้าส์ และมีทุกระดับราคา และมีความปลอดภัย สะดวกสบาย เดินทางมาเรียนง่าย
-ที่เที่ยว ครบทุกแนว เหมาะกับทุกเพศทุกวัย จะมาเดี่ยว มาคู่ หรือมาเป็นครอบครัวก็มาเที่ยวม.บูรพาบางแสนได้หมดมีทั้ง ทะเล ชายหาด ป่าธรรมชาติ ห้างสรรพสินค้าช๊อปปิ้ง แสงสีวิบวับ
-เดินทาง สะดวกจากทั่วประเทศ ถ้ามาทางรถยนต์ก็มีทั้งMotorwayมาลงด่านบางแสนและบูรพาวิถีที่ขึ้นต่อจากทางด่วนในกรุงเทพ หรือถ้ามาทางอากาศก็ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิและอู่ตะเภาลงเครื่องบินมาแล้วต่อรถโดยสารแค่1ชั่วโมงก็ถึงมหาวิทยาลัยแล้ว หรือถ้าสะดวกนั่งรถตู้มา บริเวณรอบๆมหาวิทยาลัยมีท่ารถตู้ของทุกจังหวัดภาคตะวันออกหรือถ้ามาจากจังหวัดภาคอื่นก็สามารถต่อรถที่มาจากขนส่งหมอชิตใหม่ได้สบายๆ หรือถ้ามาทางรถบขส.ก็สามารถลงได้ที่ท่ารถหนองมนใกล้มหาวิทยาลัยได้เลย จะเห็นได้ว่าเดินทางสะดวกสุดๆทุกช่องทาง

ทั้งหมดนี้คือQ&Aยอดฮิต ที่ทางคณะภูมิฯรวบรวมมาไขข้อสงสัยให้แก่น้องๆหรือผู้ปกครองที่สนใจ

แต่ถ้ายังคงมีคำถามที่อยากสอบถามเพิ่มเติม
สามารถสอบถามโดยตรงได้ที่ช่องทางต่างๆของคณะภูมิสารสนเทศศาสตร์
ทาง LINE@(อย่าลืมพิมพ์@ด้วยนะ) : @gisbuu
โทร. 03-810-2363 ต่อ 102 (ในเวลาทำการ 8.30-16.30 น.)
en_US